สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

โครงงานบูรณาการ 8 กลุ่มสาระ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

เรื่อง “ ภาพประดับอัญมณี การประดิษฐ์ผลงานร่วมสมัย ของชาวอำเภอแม่สอด ”

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 / 4

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศานาและวัฒนธรรม

มาตรฐาน ส 3.1 ม.2/2 อธิบายปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้าและบริการ

มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธิการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ

มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธิการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ

ตัวชี้วัด  ม.2/1 ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่าง ๆ
              ม.2/2 วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของทางประวัติศาสตร์
              ม.2/2 วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของทางประวัติศาสตร์
              ม.2/3 เห็นความสำคัญของการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ
              ม.2/3 เห็นความสำคัญของการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ

สมาชิกดำเนินงาน
  1. เด็กหญิงปารณีย์        หลวงแก้ว         ม.2/4          เลขที่ 30          (หัวหน้า)
  2. เด็กชายสุทธิภัทร      ใจรังษี              ม.2/4          เลขที่ 28
  3. เด็กหญิงรุจิรา            ใจทะเล            ม.2/4          เลขที่ 35
  4. เด็กชายพิทักพงษ์     สันตะวัน           ม.2/4         เลขที่ 10
หลักการบูรณาการ
  1. วัฒนธรรมท้องถิ่น
  2. ความเชื่อเกี่ยวกับอัญมณี
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
เรื่อง     การกำหนดบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ ของสมาชิกในกลุ่ม
.ในการจัดทำโครงงาน เรื่องภาพประดับอัญมณี การประดิษฐ์ผลงานร่วมสมัย ของชาวอำเภอแม่สอด
กลุ่มที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้น ม.2/4

รายชื่อผู้ร่วมงาน
วันที่   28   กรกฎาคม   2557

ตำแหน่ง
ชื่อ – นามสกุล
หน้าที่ ความรับผิดชอบ
หัวหน้า
ด.ญ.ปารณีย์ หลวงแก้ว
จัดทำการนำเสนอข้อมูล
รองหัวหน้า
ด.ญ.รุจิรา ใจทะเล
เรียบเรียวข้อมูล
สมาชิก
ด.ช.พิทักษ์พงศ์ สันตะวัน
สรุป
สมาชิก
ด.ช.อภินันท์ ปิ่นวงษ์
สรุป
สมาชิก
ด.ช.สุทธิภัทร ใจรังษี
จัดหาวัสดุอุปกรณ์

หมายเหตุ : ...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... 
เรื่อง   การกำหนดหัวข้อเรื่องในการดำเนินโครงงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
กลุ่มที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้น ม.2/4                        
1.หัวข้อที่เลือกจัดทำ : โครงงานบูรณาการกับ 8 กลุ่มสาระ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2.ชื่อโครงงาน : ภาพประดับอัญมณี การประดิษฐ์ผลงานร่วมสมัย ของชาวอำเภอแม่สอด     
3.จุดประสงค์ของการทำโครงงาน: -เพื่อฝึกทักษะอาชีพให้นักเรียน
                                           -เพื่อสามารถไปใช้ในการประกอบอาชีพ
4.วิธีการศึกษาและดำเนินโครงงาน : 1.ศึกษาวิธีการทำและวางแผนจัดทำ 2.จัดทำแผนการจัดทำโครงงาน 3.จัดหาวัสดุ – อุปกรณ์ 4.จัดทำโครงงาน 5.แก้ไข – ปรับปรุง 6.สรุปโครงงาน
5.ความรู้และทักษะที่จะเป็นในการดำเนินโครงงานคือ : ต้องรู้ถึงวิธีการทำ วัสดุ อุปกรณ์ ถึงจะทำโครงงานได้ดี และต้องมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน
6.หลักการเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาใช้ในการดำเนินงาน :
          6.1 ความมีเหตุผลที่นำมาดำเนินงานคือ : การตัดสินใจเกี่ยวกับการนำวัสดุเหลือใช้มาทำเพื่อไม่ให้สิ้นเปลือง
          6.2 ความพอประมาณที่นำมาดำเนินงานคือ : ใช้วัสดุเหลือใช้มาทำ เพื่อประหยัดทรัพยากรโลก และไม่สิ้นเปลืองทรัพย์ของเรา
          6.3 ความมีภูมิคุ้มกันที่นำมาดำเนินงานคือ : การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในข้อผิดผลาดของโครงงาน
7.คุณธรรมที่นำมาใช้ในการดำเนินการคือ : 1.ความพอเพียงและไม่สิ้นเปลือง 2.ความมีเหตุผล 3.ความพอประมาณ 4.ความมีภูมิคุ้มกันที่ดี

เรื่อง   การเขียนหัวข้อโครงงานเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อโครงงาน : ภาพประดับอัญมณี การประดิษฐ์ผลงานร่วมสมัย ของชาวอำเภอแม่สอด
จัดทำโดยกลุ่มที่ 4 ชั้น ม.2/4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
1.ชื่อโครงงาน: ภาพประดับอัญมณี การประดิษฐ์ผลงานร่วมสมัย ของชาวอำเภอแม่สอด
2.หลักการและเหตุผล : อำเภอแม่สอดเป็นอำเภอหนึ่งที่ทำเครื่องประดับด้วยอัญมณีที่สวยงามมีคุณค่าและประณีตจนกลายเป็นสินค้าเครื่องประดับ ที่รู้จักกันแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศแต่ได้มีผู้มีแนวคิดงานประดิษฐ์ในท้องถิ่นเห็นว่าควรนำเศษอัญมณีมาทำเป็นงาประดิษฐ์ดีกว่านำไปทิ้ง จึงนำมาทำให้มีคุณค่าขึ้นมา โดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่น มาทำเป็นภาพประดับอัญมณีและในพื้นที่อำเภอแม่สอดยังไม่ค่อยมีผู้ประกอบอาชีพนี้มากนัก ดังนั้นคณะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนสรรพวิทยาคม แลเห็นความสำคัญของงานประดิษฐ์ภาพประดับอัญมณี จึงนำมาจัดทำเป็นโครงงานบูรณาการ ในหัวข้อเรื่อง ภาพประดับอัญมณี การประดิษฐ์ผลงานร่วมสมัย ของชาวอำเภอแม่สอด” เพื่อเป็นการอนุรักษ์อาชีพในท้องถิ่นและเป็นทักษะอาชีพความรู้ให้แก่นักเรียน
3.วัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการจัดทำโครงงาน : เพื่อเป็นการอนุรักษ์อาชีพท้องถิ่นและเป็นการฝึกทักษะอาชีพเสริมได้ในอนาคต
4.เนื้อหาสาระ : นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 แลเห็นความสำคัญของงานประดิษฐ์ภาพประดับอัญมณี จึงนำมาทำเป็นหลักสูตรในการทำโครงงาน โดยมีการค้นหาข้อมูลจากห้องสมุด และผู้มีความรู้ประสบการณ์โดยตรง
5.สถานที่ดำเนินงาน : โรงเรียนสรรพวิทยาคม
6.ผู้รับผิดชอบโครงงาน : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4
7.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง / แหล่งข้อมูล : ศูนย์อัญมณี โรงเรียนสรรพวิทยาคม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
8.งบประมาณในการดำเนินงาน : การร่วมระดมทุนงบประมาณภายในห้อง





เนื้อหาสาระ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
1.วัฒนธรรมท้องถิ่น : คนส่งใหญ่นำภาพประดับอัญมณีใช้เพื่อเป็นของฝาก รวมทั้งนำไปประดับตกแต่งเพื่อเสริมสิริมงคลให้แก่บ้าน
2.ความเชื่อเกี่ยวกับอัญมณี : 1. เพชร (Diamond) ต้องเลือกที่ใสบริสุทธิ์ ไม่มีสีอื่นปน มีรูปร่างในการเจียระไนสวยงามและไม่มีมลทิน เพชรราชาแห่งอัญมณีที่แสดงถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจสูง
2. ทับทิม (Ruby) “มณีแดงควรมีคุณภาพดี เนื้อใส และมีสีแดงสดใส ไม่ดำคล้ำหรืออมม่วง เป็นอัญมณีที่สร้างความกระตือรือร้นมากมาย สร้างเสน่ห์ สร้างงานกลายเป็นคนมีศักยภาพ มีไหวพริบในการแก้ปัญหาได้ดี เหมาะกับนักธุรกิจ
3. มรกต (Emerald)“เขียวใสแสงมรกตต้องมีสีเขียวสดใส และมีตำหนิน้อยที่สุด ธรรมชาติของมรกต มักจะมีตำหนิแทบทุกเม็ด เป็นอัญมณีแห่งขุมทรัพย์หรือพลังแห่งชีวิตเป็นสีที่มอบความสุขสดชื่นและสร้างความสำเร็จได้เป็นอย่างดี เหมาะกับคนที่ต้องทำงานด้านวิเคราะห์
4. บุษราคัม (Yellow Sapphire) ควรเลือกที่มีสีเหลืองเข้มสดใส มีสีตั้งแต่เหลืองอ่อนไปจนถึงเหลืองกึ่งเคลือบแดง ราคาจึงอยู่ที่สี เป็นอัญมณีแห่งสติปัญญา ความร่ำรวยและความมั่นคง เป็นศูนย์รวมของพลังแห่งอาทิตย์ ซึ่งแข็งแกร่งอดทน และพลังแห่งจันทร์ เป็นความอ่อนโยนอ่อนหวานจึงสร้างความมั่นคงสมดุลแก่ชีวิต
5. โกเมน (Garnet) ควรเลือกเม็ดที่มีคุณภาพดี ไม่มีตำหนิหรือแตกร้าว และมีสีแดงเข้ม (สีแดงแก่กว่าทับทิม) ไม่อมสีน้ำตาล หรือเหลือง หรือออกดำมากนัก เป็นอัญมณีของกษัตริย์โดยนำมาแกะสลักเป็นตราพระเจ้าแผ่นดิน ช่วยเสริมด้านความรักและความสัมพันธ์
6. ไพลินหรือนิลกาฬ (Blue Sapphire) ควรเลือกสีน้ำเงินสดใส หรือสีเข้มคล้ายท้องฟ้า (สีหมอกเมฆ) เนื้อใส ไม่มีตำหนิหรือแตกร้าว เป็นอัญมณีแห่งโชคลาภและการแสวงหาในสิ่งที่เหนือกว่าที่คาดหวัง สีแห่งท้องฟ้าและน้ำทะเลมารวมกัน ผู้ครอบครองจะพบแต่สิ่งดี ๆมากกว่าสิ่งร้าย มักต้องทำงานที่ยิ่งใหญ่เสมอ เป็นสมบัติที่มีค่าแห่งผู้นำ เหมาะสำหรับนักธุรกิจ ผู้บริหาร
7. มุกดาหาร (Moonstone) ควรเลือกสีขาวสด และเส้นพาดกลางหน้าพลอย คล้ายตรงกลางของตาแมว เนื้อใส ไม่มีตำหนิ มุกดาหารเป็นอัญมณีที่มีเสน่ห์ซ่อนเปรี้ยวมีผลประโยชน์เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ มักไม่ยอมเปิดเผยความรู้สึกแท้จริงให้ใครได้รู้ เหมาะสำหรับนักจิตวิทยา
8. เพทาย (Zircon) เป็นรัตนชาติที่เก่าแก่ที่รู้จักกันดี เพราะความมีน้ำเป็นประกายสดใสดุจเพชร มีหลายสีแต่นิยมใช้จะเป็นสีออกแดง ๆ ซึ่งหาได้ยาก เนื้อใส ไม่มีตำหนิ หรือแตกร้าว เป็นอัญมณีที่สร้างความพลังความคิดสร้างสรรค์ ช่วยให้การงานเจริญก้าวหน้าเสริมลาภยศ
9. ไพฑูรย์หรือตาแมว (Chrysoberyl Cat Eye) ควรเลือกสีเหลืองออกเข้มใส คล้ายน้ำผึ้ง และต้องมีเส้นพาดกลางหน้าพลอยคมชัด เป็นเส้นตรงเช่นเดียวกับ มุกดาหาร นิยมใช้เป็นเครื่องรางป้องกันอาถรรพ์และภัยพิบัติ
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น